About Lesson
วัน และ เวลาทำงาน
- สำนักงาน
วันจันทร์ – วันศุกร์ 10:00 – 19:00 น.
- คลินิก
กะเช้า 10:30 – 20:00 น. (เวลาพักเที่ยง 1 ชม พักรอบบ่าย 30 นาที)
กะบ่าย 13:30 – 22:00 น. (เวลาพักเที่ยง 1 ชม)
หมายเหตุ
- บริษัทสามารถกำหนดเวลาทำงานที่แตกต่างจากที่แจ้งไว้ตามความเหมาะสม
- พนักงานทุกคนต้องปฏิบัติตามกำหนดเวลาทำงาน และ วันหยุด ที่บริษัทกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
- พนักงานต้องได้รับอนุญาตจากผู้จัดการสาขาก่อนที่จะปรับเปลี่ยนวันหยุด
- การมาสาย หากคาดว่าจะมาทำงานสายหรือช้ากว่ากำหนดต้องแจ้งผู้จัดการสาขาก่อนเวลา 08:30 น.
- การเลิกงานก่อนเวลากำหนด พนักงานที่มีความประสงค์ที่จะเลิกงานก่อนกำหนด มีเหตุจำเป็น เหตุฉุกเฉิน จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้จัดการสาขา
- ในกรณีที่มาทำงานสาย พนักงานจะถูกหักเงินนาทีละ 5 บาท เกิน 30 นาทีนับ 1 ชม เกิน 12.00 น. นับเป็นครึ่งวัน
หลักเกณฑ์การลา
- การลาป่วย
- มีสิทธิลาป่วยปีละ 30 วัน ,การลา 1-2 วัน ไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ และการลา 3 วันขึ้นไป ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ประกอบเท่านั้น
- การลาป่วย หรือจำนวนวันลาป่วย จะถูกนำไปประกอบการพิจารณาเงินเดือน และ KPI
- การลากิจ
- พนักงานที่ทำงานครบ 1 ปี มีสิทธิลากิจได้ ไม่น้อยกว่า 3 วัน แต่จะได้รับค่าจ้างไม่เกิน 3 วัน
- ผู้จัดการสาขาสามารถพิจารณาตามความเหมาะสม กรณีลากิจไม่หักเงิน ได้แก่ ญาติเสีย รับปริญญา (ดูเป็นกรณีว่าให้ลาได้กี่วัน)
- ลาคลอดบุตร
- พนักงานมีสิทธิลาก่อนและหลังคลอดบุตรไม่เกิน 90 วัน(รวมวันหยุด) โดยที่บริษัทจ่ายค่าจ้างในวันทำงานให้แก่พนังงานที่ลาคลอดตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน โดยต้องลาล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน
- หลังจากลาคลอดแล้ว แต่ยังไม่สามารถปฏิบัติงานได้ บริษัทอนุญาตให้ลาเพิ่มเติมได้อีก 30 วัน โดยที่พนักงานจะไม่ได้รับค่าจ้าง
วันหยุด
- วันหยุด
- พนักงานทุกคนจะได้วันหยุด 1วัน/สัปดาห์
- พนักงานทุกคนจะได้วันหยุดนักขัตฤกษ์ 13 วัน/ปี
- พนักงานที่ทำงานครบ 1 ปีติดต่อกันจะมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนปีละ 6 วัน
วินัยและโทษทางวินัย
- วินัยทั่วไป
- เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
- ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และกฎเกณฑ์ต่างๆ ของบริษัทที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
- รักษาความสะอาดของสถานที่ และวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้
- ไม่มาทำงานสาย ไม่กลับก่อนเวลา หรือไม่ลาหยุดงานโดยไม่มีเหตุอันสมควร
- ไม่ช่วยเหลือ สนับสนุน ชักจูง รู้เห็นเป็นใจ หรือเพิกเฉยต่อการกระทำผิดของพนักงานอื่น
- ห้ามนำสิ่งของ เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ของบริษัทไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว หรือเพื่อการอื่น โดยไม่ได้รับอนุญาต
- ไม่ใช้คำพูด และ การกระทำ ที่ทำให้บริษัทเสื่อมเสียหรือได้รับความเสียหาย
- ระมัดระวังดูแลรักษาสิ่งของหรือทรัพย์สินของบริษัท และต้องแจ้งหัวหน้าเมื่อทำสิ่งของและทรัพย์สินของบริษัทเสียหาย หรือสูญหาย
- ไม่เปิดเผยข้อมูล หรือปกปิดข้อเท็จจริงอันเป็นสาเหตุให้บริษัทได้รับความเสียหาย
- ไม่ปฏิเสธการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตัวเอง
- ไม่พูดคำหยาบ
- วินัยร้ายแรง
- ไม่ทะเลาะวิวาท หรือใช้กำลังประทุษร้ายซึ่งกันและกันในบริเวณบริษัท
- ไม่พูดจาเสียดสี เหน็บแนม นินทาเพื่อนร่วมงาน หมอ และลูกค้า ทั้งต่อหน้า และในไลน์กลุ่ม
- ไม่พูดคุย เรื่องเงินเดือนและค่าตอบแทน
- ไม่มาทำงานสายเกิน 5 วันต่อเดือน
- หากตรวจสอบได้ว่าแจ้งลาป่วยเท็จถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงต่อบริษัท ผู้จัดการสาขาสามารถให้ใบเหลืองได้
- ไม่เชื่อฟังคำสั่งหัวหน้างาน
บทลงโทษ
- การตักเตือนด้วยวาจา
- ตัด KPI
- การให้ใบเหลือง พนักงานจะได้รับใบเหลืองในกรณีที่ทำผิดวินัยร้ายแรง (พนักงานที่ได้รับใบเหลืองครบ 3 ใบ จะไม่ได้รับคอมมิชชั่นของเดือนนั้น)
- เลิกจ้าง
การพ้นสภาพพนักงาน
- เมื่อมีพนักงานพ้นสภาพการเป็นพนักงานไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม พนักงานจะต้องส่งคืนทรัพย์สินของบริษัท และจะต้องใช้หนี้สินที่มีต่อบริษัททั้งหมดก่อนพ้นสภาพการเป็นพนักงาน
- พนักงานที่ประสงค์จะลาออก ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องได้รับการอนุมัติล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน หากไม่แจ้งล่วงหน้า พนักงานจะไม่ได้รับค่าคอมมิชชั่นของเดือนนั้น ๆ
- การเลิกจ้างและการพ้นสภาพการเป็นพนักงาน
- เลิกจ้างในระหว่างทดลองงาน
- เลิกจ้างเพราะเหตุผิดวินัย
- ลาออก.
- เสียชีวิต
การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย
ผู้มีอำนาจลงโทษมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาพนักงานผู้กระทำผิดดังนี้
- ทุจริตต่อหน้าที่ กระทำความผิด กระทำความผิดอาญา โดยเจตนาแก่บริษัท
- จงใจทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย
- ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้บริษัทได้รับความเสียหายร้ายแรง
- ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของบริษัท โดยที่ได้รับการตักเตือนแล้ว
(ยกเว้นในกรณีที่ร้ายแรง บริษัทไม่จำเป็นต้องตักเตือน)